บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4

 บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่4

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2543

📌เนื้อหาที่เรียน 

อาจารย์ได้มีการสนทนาก่อนเข้าสู่บทเรียน

👶🏻ธรรมชาติของเด็ก 3-5ปี

-ชอบที่จะให้ผู้ใหญ่พอใจและชื่นชม

-อยากรู้ อยากเห็น 

-ชอบเล่นแบบคู่ขนาน

-ชอบถาม ชอบสงสัย

-ร้องเพลงง่ายๆ แสดงท่าทาง

-ช่วยเหลือตนเองได้ 

-พูดประโยคได้ยาวขึ้น 

~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~**~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

❤️ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์

-การนับจำนวนใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ

-การเรียงลำดับจากน้อยไปมาก

-การบอกจำนวนสองจำนวนขึ้นไปนำมาเปรียนเทียบว่ามีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่า

-จำนวนและการดำเนินการ

-การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆสองกลุ่มได้ผลรวมมากขึ้น

**นอกจากนี้ ยังเอาเพลงเกี่ยวกับการสอนนับตัวเลขมาสอนให้เด็กได้เข้าใจยิ่งขึ้นเพิ่มความสนุกสนานอีกด้วย

🎐คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1.Comprehend = เข้าใจ

2.Application = ประยุกต์

3.Anatysis = วิเคราะห์

4.Synthesis = การสังเคราะห์

5.Eyaluaion = ประเมินค่า


🤹‍♀️ประเมินอาจารย์ ตนเอง เพื่อน

ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนและอธิบายเนื้อหาอย่างละเอียดและเข้าใจพร้อมยกตัวเองให้เห็นภาพที่ชัดเจน

ประเมินตนเอง: มาก่อนเวลาเรียน มีความพร้อมในการเรียนตั้งใจฟังอาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน: เพื่อนบางคนมาก่อนเวลาเรียนบางคนก็มีสายแต่ก็ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน


                                               เพลง นกกระจิ๊บ🕊🕊🕊🕊


                                                     เพลงแม่ไก่🐓🐓


วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปคลิปตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์

 สรุปคลิปตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์



เรื่อง การจัดกิจกรรมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  มีการร้องเพลงเพื่อให้เด็กสนใจ การถามตอบก่อนทำกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้สนใจในกิจกรรมมากยิ่งขึ้น ลักษณะของแอปเปิ้ล ว่ามีสีอะไรบ้าง มีขนาดเล็กกับใหญ่ การบอกจำนวนการนับจำนวนของแอปเปิ้ล มีการให้เด็กร่วมกิจกรรมในการให้เด็กเอาเเอปเปิ้ลไปติดที่ต้นไม้ที่มีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ให้เด็กติดผลเล็กที่ต้นเล็กและติดผลใหญ่ที่ต้นใหญ๋ ติดเสร็จแล้วมีการถามเด็กอีกครั้งหนึ่งว่าสีเขียวติดที่ต้นไหน สีแดงต้นไหน

สรุปคลิปตัวอย่างการสอนวิทยาศาสตร์

 สรุปคลิปตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์



เรื่อง สัตว์น้ำ

การแนะนำชื่อเรื่องและลักษณะรูปทรงของสัตว์น้ำ เช่น หอย ปู  ปลาดาว กุ้ง ปลาหมึก ปลา เต่า

มีการสอดแทรกเพลงเกี่ยวกับสัตว์น้ำเพื่อให้เด็กได้สนใจและจำสัตว์น้ำได้มากขึ้น และเพิ่มท่าประกอบเพื่อความสนุกสนานในเพลง และมีการสอดแทรกกิจกกรมเกมส์การศึกษา ชื่อเกมส์ จับคู่เกมศ์ภาพเหมือนสัตว์น้ำ

มีบอกวิธีการเล่นเพื่อให้เด็กเข้าใจในเกมส์ที่จะเล่น จะทำให้เด็กรู้จักกับสัตว์น้ำมากยิ่งขึ้น

วิจัยคณิตศาสตร์

 สรุปวิจัยคณิตศาสตร์


เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ

ของ 

พิจิตรา เกษประดิษฐ์


  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ 

  ด้านการสังเกตและจำแนก เด็กมีระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนการทดลองอยู่ในระดับ พอใช้ และหลังการทำกิจกรรมเด็กอยู่ในระดับ ดี ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้การสังเกตการจำแนกและได้ลงมือปฎิบัติกับอุปกรณ์และวัตถุดิบจริง โดยครูได้สอดแทรกทักษะการสังเกตและการจำแนกในกิจกรรม โดยการให้เด็กสังเกตผลไม้ที่ทำกิจกรรม และได้สังเกตุวัตถุดิบว่ามีความแตกจ่างการอย่างไร

1. จากการบันทึกหลังการสอนได้ข้อสังเกตว่า เด็กต้องปรับตัวกับกิจกรรมที่ใช้ขนมอบ ใน การทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ เนื่องจากกจิ กรรมและสื่อ วัสดุอุปกรณ์ มีความแปลกใหม่ ทําให้เด็กยัง ไม่กล้าที่หยิบจับ และทํากิจกรรม จึงต้องให้กําลังใจ และให้คําแนะนํา เมื่อเด็กต้องการคําแนะนํา และกระตุ้นให้เด็กลงมือปฏิบัติ โดยให้เด็กดูเพื่อนๆ ท่ีทาํ กิจกรรม และครูทําให้เด็กดู เพื่อให้เด็กเกิด ความมั่นใจกล้าที่จะทํา ซึ่งในระยะนี้ เด็กยังทํากิจกรรมยังไม่คล่องแคล่ว ขาดความมั่นใจในการทํา กิจกรรม โดยเด็กจะพูดว่า ทำไมาเป็น ทําแบบนี้ใช่ไหม บ่อยครั้ง

2. จากการบันทึกหลังการสอนได้ข้อสังเกตว่า เมื่อเข้าสู่ระยะสัปดาห?ที่ 3 เด็กมีการปรับตัว มีทักษะในการปฏิบัติกิจกรรมดีขึ้น มีความมั่นใจในการทาํ กิจกรรมมากข้ึน รู้จักคิดหาวิธีการของตนเอง ในการทํากิจกรรม เชน การทําใหีขนมติดกับเกล็ดช็อกโกแลต โดยใช้ครีมแต่งหน้าเค้ก แยม

3. การเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีอิสระในการทาํ กิจกรรม นอกจากจะเป็น การพัฒนา ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร แล้ว เด็กยังได้พัฒนาการในด้านอื่นๆ เช่น ด้านร่างกาย สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ซึ่งจะเป็นพื้นฐานต่อการเตรียมความพร้อมในด้านการเขียน พัฒนาการด้านอารมณ์- จิตใจ ช่วยผ่อนคลาย เกิดความสนุกสนาน มีความสุขและเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง มีพัฒนาการในด้านสังคม รู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การรู้จักรอคอย การแบ่งปันซึ่งกันและกัน สําหรับการพัฒนาด้านสติปัญญา เมื่อเด็กได้ทํากิจกรรมผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กจะเกิดการเรียนรู้ผ่านการกระทํา เกิดความเข้าใจได้ด้วยตนเอง

4. ในการทํากิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ทำให้เดก็ ได้คิด โดยการตั้งชื่อผลงานของ ตนเอง ทําให้เด็กได้กล้าแสดงออกจากการต้ังชื่อที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป

5.ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ช่วยให้เด็กรูปจักรักษาความสะอาดขณะ ทํากิจกรรม รู้จักระมัดระวังเวลาทํากิจกรรม

วิจัยวิทยาศาสตร์

 สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์

เรื่อง วิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์

ของ

พีระพร  รัตนาเกียรติ์


เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ประกอบการบันทึกมีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านสัมพันธ์ลักษณะของวัตถุ  ด้านความสัมพัธ์ของตำแหน่งวัตถุ ด้านลักษณะของวัตถุที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนทิศทางการมองและด้านการเเยกออกจากกันของวัตถุ

  ความสามารถด้านมิติสัมพัธ์เป็นความสามารถของสมองซีกขวาและเป็นความสามารถทางสติปัญญาด้านหนึ่งของมนุษย์ ความสามารถในด้านมิติสัมพันธ์จำเป็นต้องส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็กซึ่งควาสามารถด้านนี้ถือได้ว่าเป็นทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและเป็นพื้นฐานในการเรียนรู็ของเด็กต่อไป การจัดประสบการณ์ประกอบการบันทึก เป็นวิธีกานหนึ่งส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากากรลงมือกระทำด้วยตนเองผ่านประสาทสัมผัสทั้ัง 5 และได้มีการสะท้อนข้อมูลด้วยการบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ ถือว่าเป็นการทบทวนและประเมินความคิดของเด็กเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้มา  ซึ่งการบันทึกของเด็กด้วยการเขียน วาดภาพจากความคิด จะช่วยส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพัธ์ของเด็กปฐมวัย

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3

 ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3


วันอังคารที่ 18 เดือนสิงหาคม พ.ศ 2543

เวลา08:30-12:30

📌เนื้อหาการเรียน

 อาจารย์ได้มีการตั้งคำถามแล้วถามนักศึกษากับพร้อมชี้แจงและแนะนำแนวทางกับวิชานี้ 

ตัวอย่างคำถาม วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กหรือไม่ เพื่อนๆได้ตอบคำถามนี้ บ้างก็ตอบว่าใช่ ไม่ใช่ ถ้าใช่ก็ได้เหตุผลมาว่า เพราะคุณครูป้อนข้อมูลยากๆให้แก่เด็ก ทำให้เด็กไม่เข้าใจจึงไม่เกิดการเรียนรู้ แต่ถ้าตอบว่าไม่ใช่ ก็มีเหตุผลเช่นกันคือ เลือกเรื่องที่จะนำมาสอนเด็กให้เหมาะสมทำวิชาวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวรอบๆตัวเด็ก 

สรุปได้ว่า เราต้องเลือกเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับผู้เรียน

🎐คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1. Development    =    พัฒนาการ

2.Brain    =    สมอง

3.Absorb    =     ซึมซับ

4.Surroundings    =    สิ่งแวดล้อม

5.Democracy    =    ประชาธิปไตย

🤹‍♀️ประเมินอาจารย์ ตนเอง เพื่อน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีเทคนิควิธีการสอนในเห็นภาพชัดเจนและเข้าใจยิ่งขึ้น

ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงเวลา ช่วยแสดงความคิดเห็นกับคำถามที่อาจารย์ถาม

ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีความกระตือรือร้อสนใจในการเรียน 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

 ครั้งที่ 2 

บันทึการเรียนรู้ครั้งที่2

วันอังคารที่ 11 เดือนสิงหาคม พ.ศ 2563

📌เนื้อหาที่เรียน

อาจารย์ได้ให้สรุปบทความ วิจัยและตัวอย่างการสอนลงบล็อกและให้ถ่ายรูปลงกระดาน Padler เพื่อเป็นการเช็คชื่อว่าใครมาเรียนบ้าง 

🤹‍♀️ประเมินอาจารย์: อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับการเรียนได้อย่างละเอียด 

ประเมินตนเอง:มาตรงตามเวลา ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้

ประเมินเพื่อน: มาเรียนตรงเวลาและมาครบทุกคน 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 1 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1




วันอังคารที่ 4 เดือน สิงหาคม พ.ศ 2543

เวลา 08:30-12:30

📌เนื้อหาที่เรียน 

วันแรกของการทำการเรียนการสอนในรายวิชานี้ อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาที่จะเรียนและข้อตกลงในการเรียนการสอนในรายวิชานี้ ในการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ในเรื่องการแต่งกาย เวลาในการเข้าเรียน และงานที่ได้รับมอบหมายให้แก่นักศึกษา

1.สร้างบล็อกในหัวข้อดังนี้

-ชื่อและคำอธิบายของบล็อกในรายวิชา

-รูปและข้อมูลของเรา

-ปฎิทินและนาฬิกา

-เชื่อมโยง บล็อกอาจารย์ผู้สอน หน่วยงานสนับสนุน แนวการสอน งานวิจัยวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ บทความ สื่อการเรียนรู้ เช่น เพลง นิทาน แบบฝึกหัด 

 2.เขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษสัปดาห์ล่ะ 5คำ

3.จับกลุ่ม3-5คน ถ่ายรูปแล้วลงในกระดาน Padlet

 

🎐คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1.Science วิทยาศาสตร์

2.Mathematics คณิตศาสตร์

3.Resarch วิจัย

4.Learning การเรียนรู้

5.Skill ทักษะ


🤹‍♀️ประเมินอาจารย์ ตนเอง เพื่อน

ประเมินอาจารย์: อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในการสอนมาอย่างดีมาก อธิบายและชี้แจงงานได้ชัดเจด

ประเมินตนเอง: มีความตั้งใจฟัง ความสนใจที่จะเรียนเพราะไม่เคยเรียนมาก่อน

ประเมินเพื่อน:เพื่อนตั้งใจฟังเป็นอย่างดี มีความสนใจ



วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บทความคณิตศาสตร์


 📝📚พัฒนาการทางด้านการคำนวณในวัยเด็ก เป็นเรื่องที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับลูกเป็นอย่างมาก สังเกตง่าย  จากพฤติกรรมการปลูกฝังหรือพยายามให้ลูกคุ้นเคยกับตัวเลขกันตั้งแต่เด็ก ซึ่งนี่ถือเป็นพัฒนาการเริ่มต้นที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญอันดับต้น 🎲🎯



⚽️🏀🏈⚾️🥎🎾🏐🏉🥏🎱🪀🏓🏸🏒🏑🥍🏏⛳️🥅🪁🏹🤿🥊🎣🎽🏄‍♀️🏄‍♂️🤽‍♀️🏊🤽‍♂️🚣🏿🧗‍♀️🚴‍♀️🎖

ทักษะสำคัญต่าง  อันเป็นส่วนประกอบสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านคณิตศาสตร์ที่สำคัญมีอยู่ด้วยกันหลายอย่างตัวอย่างเช่น การนับ การจดจำ การจำแนกประเภท การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ การเขียนตัวเลขการเปรียบเทียบ รูปทรง รูปร่างพื้นที่ การชั่ง การตวง การวัด ความสัมพันธ์ เวลา วันที่ การเพิ่มและการลดจำนวน เป็นต้น


พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กวัย 1-2 ปี👶🏻

          ช่วงวัยนี้ การเริ่มต้นให้เด็กได้หยิบจับสิ่งของรอบตัว มีการฝึกนับจำนวนเพื่อสร้างความคุ้นเคย โดยจำนวนที่นับอยู่ในช่วง 1-10 โดยคุณพ่อคุณแม่ควรเปล่งเสียงให้เด็ก  ฟังบ่อย  ซึ่งจะสร้างความคุ้นหูและคุ้นเคยให้เด็กเป็นอย่างดี และค่อย  เพิ่มจำนวนนับเพิ่มขึ้นเรื่อย  ตามความสนใจของเด็ก แต่ไม่ควรฝืนหรือฝึกแบบบังคับ เพราะอาจจะสร้างความกดดันและการไม่ชื่นชอบการคำนวณแก่เด็กได้ นอกจากนั้น การสร้างความจดจำเกี่ยวกับรูปทรงพื้นฐาน เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ก็เป็นพัฒนาการสำคัญที่ควรฝึกเด็กในวัยนี้ไว้ด้วยเช่นเดียวกัน

พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กวัย 3-4 ปี👧🏼

          ช่วงวัยนี้ เริ่มเข้าสู่การขีดเขียน โดยคุณพ่อคุณแม่จะเริ่มได้เห็นการเขียนตัวเลขตามลำดับจำนวน การนับ ลำดับ รวมไปถึงพัฒนาการที่สูงขึ้นโดยใช้พื้นฐานการนับจากช่วงอายุก่อนหน้านี้คือ ความสามารถในการเปรียบเทียบปริมาณ ขนาด ความยาว น้ำหนัก ความเร็ว และบอกเวลาได้

พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กวัย 5-6 ปี🧒

          เป็นช่วงพัฒนาการที่สำคัญที่สุดที่เด็กอาจอยู่ในช่วงที่เริ่มเข้าเรียนในระดับชั้นอนุบาล ซึ่งจะได้รับการเรียนรู้เกี่ยวกับการคำนวณตัวเลขพื้นฐาน อย่างการบวกและการลบอย่างง่าย รวมไปถึงรูปแบบจำนวนพื้นฐานอย่างเลขคู่เลขคี่เป็นต้น

          พัฒนาการที่กล่าวไปเบื้องต้นก็เป็นพื้นฐานพัฒนาการทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นสำหรับเด็กเท่านั้น ในวัยเด็กช่วงอายุต่อไป ก็จะเป็นไว้ที่ได้รับการพัฒนาจากคุณครูในชั้นเรียนต่อไป ซึ่งก็เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้เด็กเหล่านี้ชื่นชอบในวิชาคณิตศาสตร์ต่อไปเมื่อพวกเขาเข้าสู่ระบบโรงเรียนหรือสถานศึกษา


🎯🎳🎲🧩🎮🎰🏵🎫🎗🎟

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บทความวิทยาศาสตร์



🔬🧪 วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืนมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้

🦠💉🧪💊🔬🔭

1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 

2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 

3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ 

ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายให้ครูผู้สอนได้นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้ รวมถึงการพัฒนากระบวนการคิด กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยและเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับต่อไป


🧨เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเองอย่างเสรีและตามแยยที่กำหนดให้ แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ 


🧬การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้ 

1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก 

2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม 

3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ 

4.ส่งเสริมกระบวนการคิด 

5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ 

6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว 

7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ 

การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งคำถาม การทดลองการสังเกตและการหาข้อสรุปซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแก้ปัญหา ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ควรให้เด็กได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้

🔬💉🦠🌡🩸🧫🧪🧬💊🔬🩹🩸🔭🔮🦠💉🌡💊💊🧪🧪🧬🌡🔬💈📿🔮💈🔭🧿🩸🦠🌡🧫🩺


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15

 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วันอังคารที่17 พศฤจิกายน 2563 🥑เนื้อหาที่เรียน ทำกิจกรรมCooking อาจารย์ให้เงินไปซื้อของเพื่อทำอาหารแต่ก่อนจะไ...